วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ (Vision) 

โรงเรียนหนองหลวงศึกษา จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง เป็นโรงเรียนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศาสตร์พระราชาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับสากล

พันธกิจ (Mission)  

๑. พัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม    และเป็นพลเมืองดี มีสมรรถนะตามหลักสูตร และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ 

๒. เสริมสร้างศักยภาพครูให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

  ๓. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ จัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

๔. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความปลอดภัย จัดการศึกษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก  สืบสานวิถีไทย ใช้ศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

เป้าประสงค์ (Goal)  

  ๑. นักเรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม และเป็นพลเมืองดี 

  ๒. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ทันสมัยและมีระบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล

๓. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาในระดับสากล มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษ     ที่ ๒๑

  ๔. ครูและบุคลากรทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ มีศักยภาพการจัดการเรียนรู้      ในศตวรรษที่ ๒๑

  ๕. นักเรียนได้รับโอกาสการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เสมอภาค เท่าเทียม และปลอดภัย

๖. โรงเรียนเพิ่มและขยายช่องทางการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในการจัดการเรียนรู้

  ๗. โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ 

๑. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง

  ๒. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลประเมินผล

  ๓. ผลิตและพัฒนากำลังคนรวมทั้งวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

๔. เสริมสร้างศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 

  ๕. เพิ่มโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 

๖. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา 

๗. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

กลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง

  เป้าประสงค์ที่ ๑ นักเรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิต      ที่มั่นคง มีคุณธรรม และเป็นพลเมืองดี

  กลยุทธ์

  ๑. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และความปรองดอง สมานฉันท์ (๑) 

  ๒. ส่งเสริม สนับสนุนและน้อมนำพระราชปณิธาน พระราชกระแสด้านการศึกษา และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับการศึกษา (๒)

  ๓. ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา (๓)

  ๔. ส่งเสริม ป้องกัน แก้ไข และคุ้มครองความประพฤตินักเรียน (๔)

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดผล

                    ประเมินผล

  เป้าประสงค์ที่ ๒ โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ทันสมัยและมีระบบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล

  กลยุทธ์

  ๑. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัย สอดคล้องกับโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๕)

  ๒. จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพหุปัญญาของผู้เรียนตามศักยภาพ (๖) 

  ๓. พัฒนาระบบประเมินผลการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ของมาตรฐานการศึกษาของชาติ (๗)

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ผลิตและพัฒนากำลังคนรวมทั้งวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของ  

    ประเทศ

เป้าประสงค์ที่ ๓ นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาในระดับสากล มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑

กลยุทธ์

  ๑. พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ และเสริมสร้างทักษะชีวิตที่เชื่อมโยงสู่การสร้างอาชีพและมีงานทำ (๘)

  ๒. ออกแบบการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน เพิ่มระดับด้วยการเรียนการสอนวิชาภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) อย่างต่อเนื่อง (๙)

  ๓. ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ในชีวิตประจำวันได้ (๑๐) 

  ๔. ใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในการเสริมสร้างทักษะชีวิตของผู้เรียนอย่างเข้มข้น      จัดกิจกรรมเสริมสร้างระเบียบวินัยและการมีจิตอาสา (๑๑)

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ เสริมสร้างศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 

เป้าประสงค์ที่ ๔ ครูและบุคลากรทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ มีศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

กลยุทธ์

  ๑. พัฒนาครูให้มีความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามศักยภาพของผู้เรียน มุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิตที่เชื่อมโยงสู่การสร้างอาชีพและมีงานทำ (๑๒)  

  ๒. พัฒนาระบบการเสริมสร้างศักยภาพครูให้สามารถปรับบทบาทเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ และจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ (๑๓)  

  ๓. พัฒนากระบวนการนิเทศ การวัดผล การประเมินผลครู ที่สะท้อนต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน (๑๔)

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ เพิ่มโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

                   ตลอดชีวิต

เป้าประสงค์ที่ ๕ นักเรียนได้รับโอกาสการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เสมอภาค เท่าเทียม       และปลอดภัย

  กลยุทธ์

  ๑. จัดทำระบบประกันโอกาสการเข้าถึงการศึกษา มีระบบการรับนักเรียน และระบบส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาต่อของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ (๑๕)  

๒. พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาที่สอดคล้องกับความสนใจและวิถีชีวิตของผู้เรียน(๑๖)  

๓. พัฒนาสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้สอดคล้องตามหลักการสืบสานวิถีไทย   ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๑๗)

๔. พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการบริหารและการจัดการศึกษาในพื้นที่ (๑๘)

  ยุทธศาสตร์ที่ ๖ ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

เป้าประสงค์ที่ ๖ โรงเรียนเพิ่มและขยายช่องทางการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในการจัดการเรียนรู้ 

  กลยุทธ์

  ๑. จัดหาและบริหารจัดการระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ทันสมัย (๑๙)

  ๒. ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้และการสร้างอาชีพอย่างต่อเนื่อง (๒๐)

  ๓. ส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอนในระบบดิจิทัล (๒๑)

  ๔. จัดทำระบบฐานข้อมูล (Big Data) และระบบรายงานผลการใช้ฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบฐานข้อมูลของส่วนราชการ/ หน่วยงานอื่นๆ (๒๒)

  ๕. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถรองรับการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ DLIT DLTV และ ETV (๒๓)

  ยุทธศาสตร์ที่ ๗ พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

  เป้าประสงค์ที่ ๗ โรงเรียนมีระบบการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

  กลยุทธ์

   ๑. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลงานหรือได้รับรางวัลทั้งกับผู้บริหาร ครู และนักเรียน (๒๔)

  ๒. พัฒนาระบบการบริหารงบประมาณและการระดมทรัพยากรจากภาคีเครือข่าย/ภาคประชาสังคมมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา (๒๕)

  ๓. พัฒนาระบบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล (๒๖)

  ๔. พัฒนาระบบการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน (๒๗)  ๕. พัฒนาระบบการดำเนินการตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒๘)

ติดต่อเรา